การป้องกันการบาดเจ็บจากความร้อน ในห้วงการฝึกทหารใหม่
รายละเอียด
การป้องกันการบาดเจ็บจากความร้อน ในห้วงการฝึกทหารใหม่
พ.อ.ผศ.นพ.ราม รังสินธุ์
ภาควิชาเวชศาสตร์ทหารและชุมชน
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
ภาควิชาเวชศาสตร์ทหารและชุมชน
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
ทุกเดือนเมษายนของทุกปี กระทรวงกลาโหมจัดให้มีการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ
โดยชายไทยที่ส่วนใหญ่มีอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ประมาณ 60,000 – 100,000 คน
โดยได้รับการคัดเลือกมาเป็นทหารกองประจำการจากการสมัครหรือการจับฉลาก ซึ่งจะมีการเรียกพลครึ่งหนึ่งเข้ารับราชการ
ในหน่วยทหารทั่วประเทศในเดือนพฤษภาคม อีกครึ่งหนึ่งจะเรียกในเดือนพฤศจิกายน ของปีนั้น
เยาวชนชายไทยเหล่านั้น จะได้รับการฝึกทหารใหม่เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ จากหน่วยฝึกทหารใหม่
ซึ่งสำหรับกองทัพบกจะมีกว่า 300 หน่วย ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ในการฝึกทหารเบื้องต้นในช่วงเวลาดังกล่าว
ทหารกองประจำการใหม่จะความเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บจากความร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิด โรคลมร้อน
หรือ Heat Stroke ที่เกิดจากการฝึกที่ทำให้มีการเสียชีวิตเกือบทุกปี
การบาดเจ็บจากความร้อน หรือ Heat Injury
เป็นกลุ่มโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของทหาร ซึ่งประกอบไปด้วยโรคที่เกิดจากความร้อนหลายโรคที่มีระดับความรุนแรงต่างกันไป
ซึ่งโรคที่มีความรุนแรงสูงสุดได้แก่ โรคลมร้อน หรือ heat stroke
ซึ่งเป็นการบาดเจ็บจากความร้อนประเภทหนึ่งที่มีอัตราตายสูงมากซึ่งผู้ป่วยจะมีอุณหภูมิแกนกายสูงกว่า 40◦C
และมีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางเช่น การพูดจาสับสน ชัก หรือถึงขั้นหมดสติ
โรคลมร้อนนั้น โดยสามารถจำแนกโรคลมร้อนตามลักษณะการเกิดโรคได้เป็น 2 กลุ่มคือ
classical heat stroke ที่เกิดในผู้สูงอายุที่ได้รับผลจากคลื่นความร้อนในสภาพอากาศ
ซึ่งมีอุณภูมิสูงกว่า 32.2◦C เป็นเวลามากกว่า 3 วันต่อเนื่องกันทำให้ไม่สามารถระบายความร้อนภายในร่างกายได้ทัน
และ โรคลมร้อนจากการออกกำลัง Exertional heat stroke
ที่เกิดในกลุ่มประชากรอายุที่น้อยกว่าที่มีการออกกำลังอย่างหนักในสภาะอากาศที่ร้อนจัดซึ่งมักเกิดในการฝึกทหารและการฝึกอย่างหนักของนักกีฬา
กลไกของการเกิดการบาดเจ็บจากความร้อนจากการออกกำลัง นั้นเกิดจากการสะสมความร้อนของร่างกาย
โดยความร้อนในร่างกายเกิดขึ้นมาจากพลังงานความร้อนจากสิ่งแวดล้อม และพลังงานความร้อนที่ได้จากการเผาผลาญในร่างกายเอง
โดยผลรวมของความร้อนทั้งหมดจะถูกจำกัดไว้ที่อุณหภูมิกายที่ 37◦C โดยร่างกายมีกลไกการควบคุมอุณหภูมิ
เพื่อให้คงระดับอยู่ที่ระดับดังกล่าว
หากมีการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิกายแบบเล็กน้อยโดยน้อยกว่า 1◦C จะมีการกระตุ้น ตัวรับสัญญาณความร้อนของร่างการ และ
จะส่งสัญญาณไปยังศูนย์ความคุมอุณหภมิกายที่สมอง และศูนย์นั้นจะสั่งการให้มีการส่งเลือดที่มีอุณหภูมิสูงไปยังพื้นผิวกาย
หลังจากนั้นจะมีการขยายตัวของหลอดเลือดบริเวณผิว โดยเพิ่มปริมาณเลือดไปสู่บริเวณผิวนี้อาจสูงได้ถึง
8 ลิตรต่อนาทีนอกจากนั้นจะมีการกระตุ้นการขับเหงื่อ
โดยหากในสภาพอากาศแวดล้อมไม่มีการอิ่มตัวจากไอน้ำ เหงื่อจะระเหยและนำความร้อนออกไปจากร่างกาย
การระเหยของเหงื่อ 1.7 มิลลิลิตร จะใช้พลังงานไป 1 กิโลแคลลอรี
ระบบของการระเหยเหงื่อเพื่อลดความร้อนในสภาพแวดล้อมที่มีการระเหยได้ดีจะสามารถนำความร้อนออกไปได้ถึง
600 กิโลแคลลอรี ต่อชั่วโมง การลดอุณหภูมิการโดยเหงื่อเป็นความสำคัญหลักของการระบายความร้อนร่างกาย
การบาดเจ็บจากความร้อนจากการออกกำลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน โรคลมร้อนจากการออกกำลัง นั้น
เป็นปัญหาทางด้านสุขภาพที่อาจรุนแรงส่งผลต่อการเสียชีวิต ที่สำคัญในการฝึกทหารโดยเฉพาะในช่วงการฝึกทหารใหม่
และการเล่นกีฬาอย่างหนักของนักกีฬา
จากการศึกษาในสัตว์มดลองและมนุษย์พบว่า การให้การรักษาโรคลมร้อนที่ล่าช้าหรือการไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
จะนำไปสู่การทำลายอวัยวะซึ่งจะมีการทำลายที่ต่อเนื่องไปเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน แม้จะมีอาการที่ดีขึ้นแล้วก็ตาม
ซึ่งกลไกการทำลายอวัยวะต่างๆนี้จะหยุดลงหรือไม่หากได้รับการรักษาที่รวดเร็วนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
การศึกษาทางด้านระบาดวิทยาในทหารในต่างประเทศเร็วๆนี้จะพบว่า การเกิดการป่วยจากความร้อน
จะเพิ่มอัตราตายในอนาคตจากการเกิดภาะอวัยวะล้มเหลว
การตรวจพบผู้ป่วยโรคลมร้อนจากการออกกำลัง อย่างทันท่วงทีและดำเนินการลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
จะทำให้เพิ่มอัตราการรอดชีพ และลดผลกระทบข้างเคียงจากโรคดังกล่าว การไม่ได้รับการตรวจพบ
และไม่ทำการรักษาผู้ป่วยโรคลมร้อนจากการออกกำลัง มักจะส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตเป็นส่วนใหญ่
จากการพบการเสียชีวิตในช่วงต้นของการฝึกทั้งในทหารและนักกีฬา
นำไปสู่การเน้นความสำคัญของการดำเนินการฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไปให้เกิดความคุ้นชินกับความร้อนและความ
คำคัญของการให้บริการกางการแพทย์ที่จุดเกิดเหตุ เกื่อป้องกันการเสียชีวิตจากผู้ป่วยโรคลมร้อนจากการออกกำลัง
ความเสี่ยงต่อการเกิด โรคลมร้อนจากการออกกำลัง จะมีมากขึ้นในบุคคลทำการออกกำลังอย่างหนักในภาวะที่อาการร้อน
และอบอ้าวจากความชื้น แม้ว่าโดยส่วนใหญ่ โรคลมร้อนจากการออกกำลัง จะเกิดในสภาพอากาศที่ร้อน แต่ในบางครั้งพบในภาะอากาศที่เย็นได้
ปัจจัยเสี่ยงโรคลมร้อนจากการออกกำลังได้แก่
1. กลุ่มปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่อุณหภมิอากาศ และความอิ่มตัวของไอน้ำในอากาศหรือความชื้นสัมพัทธ์ ซึ่งในห้วงการฝึกผลัดที่ 1
ของทุกปีช่วงเดือนพฤษภาคม และมิถุนายนนั้นจะเป็นช่วงที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนอบอ้าวและมีความชื้นในอากาศสูงของช่วงต้นฤดูฝน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังการอย่างหนักในช่วงเย็นวันที่มีอากาศครึ้มฟ้ครึ้มฝนจะเกิดความเสี่ยงในเวลานั้นสูงมาก
2. กลุ่มปัจจัยทางการออกกำลัง ได้แก่
ความหนักของการออกกำลังโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการออกกำลังในช่วงเย็นที่มีการวิ่ง จะสร้างความร้อนแก่ร่างกายได้สูงมากกว่าช่วงอื่นๆ
ประการต่อมาในกลุ่มนี้คือการออกกำลังโดยมีการแบกน้ำหนัก ซึ่งทำให้เกิดการสร้างความร้อนสูงขึ้นกว่าปกติ
และสุดท้ายคือการออกกำลังอย่างต่อเนื่องหลายวันโดยไม่ได้พักอย่างเพียงพอ
3.กลุ่มปัจจัยส่วนบุคคล
ปัจจัยกลุ่มนี้มีความสำคัญชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ จากองค์ความรู้ในปัจจุบันที่มีมากขึ้น
โดยจะเป็นการอธิบายว่าแต่ละคนนั้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บจากความร้อนไม่เท่ากัน โดยบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าผู้อื่นได้แก่
1. ขาดความคุ้นชินกับความร้อน ซึ่งคนในปัจจุบันจะมีความทนต่อการออกแรงในสภาวะที่ร้อนได้น้อยลงจากการที่ไม่ได้มีการทำงานกลางแจ้งมาก่อนและมาได้รับการฝึกที่ต้องออกกำลังอย่างหนักโดยทันที แต่การคุ้นชินกับความร้อนนี้สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้โดยใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ จากกการออกแบบการฝึกที่ค่อยๆ เพื่มความหนักขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
2. น้ำหนักเกินหรืออ้วน โดยมีดัชนีมวลกายมากกว่า 28 กิโลกัมต่อตารางเมตร
3. ความเจ็บป่วยต่างๆ เช่นได้รับบาดเจ็บกล้ามเนื้อฟกช้ำอย่างมากรักษายังไม่หาย เป็นไข้หวัด ท้องเสีย เป็นโรคหอบหืด มีโรคผิวหนังอักเสบหรือผิวหนังผิดปกติที่ทำให้การขับเหงื่อทำได้ไม่เต็มที่
4. การรับประทานยาบางชนิดเช่น ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ ยาแก้วิงเวียน
5. อายุมากกว่า 40 ปี
6. ร่างกายขาดน้ำ
7. ดื่มเหล้าอย่างหนักใน 24 ชม.ที่ผ่านมา เพราะ alcohol จะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
8. ยังใช้สารเสพย์ติดอย่างต่อเนื่อง
9. ภาวะอดนอน
10. บริจาคโลหิตมาไม่ถึง 3 วัน
และประเด็นสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือการเคยได้รับการบาดเจ็บจากความร้อนมาก่อน ซึ่งมีการพบผู้ป่วยโรคลมร้อนที่มีอาการหนักมาหลายราย มีประวัติเพิ่งได้รับการส่งกลับจากโรงพยาบาลหลังจากการรักษาการบาดเจ็บจากความร้อน แล้วกลับไปออกกำลังอย่างหนักทันทีทำให้เกิดโรคลมร้อนที่มีอาการรุนแรงอย่างมากเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นแพทย์จะต้องออกใบรับรองแพทย์ให้ผู้ป่วยที่เคยรับการวินิจฉัยด้วยการบาดเจ็บจากความร้อนพักการฝึกและออกแรงอย่างหนัก อย่างน้อย 7 วัน หลังกลับจากโรงพยาบาลและไม่แนะนำให้ออกกำลังอย่างหนักอีกเลยตลอดห้วงการฝึกทหารใหม่ และหน่วยฝึกต้อรับทราบควาสสำคัญของการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดหลังกลับจากการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
1. ขาดความคุ้นชินกับความร้อน ซึ่งคนในปัจจุบันจะมีความทนต่อการออกแรงในสภาวะที่ร้อนได้น้อยลงจากการที่ไม่ได้มีการทำงานกลางแจ้งมาก่อนและมาได้รับการฝึกที่ต้องออกกำลังอย่างหนักโดยทันที แต่การคุ้นชินกับความร้อนนี้สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้โดยใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ จากกการออกแบบการฝึกที่ค่อยๆ เพื่มความหนักขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
2. น้ำหนักเกินหรืออ้วน โดยมีดัชนีมวลกายมากกว่า 28 กิโลกัมต่อตารางเมตร
3. ความเจ็บป่วยต่างๆ เช่นได้รับบาดเจ็บกล้ามเนื้อฟกช้ำอย่างมากรักษายังไม่หาย เป็นไข้หวัด ท้องเสีย เป็นโรคหอบหืด มีโรคผิวหนังอักเสบหรือผิวหนังผิดปกติที่ทำให้การขับเหงื่อทำได้ไม่เต็มที่
4. การรับประทานยาบางชนิดเช่น ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ ยาแก้วิงเวียน
5. อายุมากกว่า 40 ปี
6. ร่างกายขาดน้ำ
7. ดื่มเหล้าอย่างหนักใน 24 ชม.ที่ผ่านมา เพราะ alcohol จะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
8. ยังใช้สารเสพย์ติดอย่างต่อเนื่อง
9. ภาวะอดนอน
10. บริจาคโลหิตมาไม่ถึง 3 วัน
และประเด็นสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือการเคยได้รับการบาดเจ็บจากความร้อนมาก่อน ซึ่งมีการพบผู้ป่วยโรคลมร้อนที่มีอาการหนักมาหลายราย มีประวัติเพิ่งได้รับการส่งกลับจากโรงพยาบาลหลังจากการรักษาการบาดเจ็บจากความร้อน แล้วกลับไปออกกำลังอย่างหนักทันทีทำให้เกิดโรคลมร้อนที่มีอาการรุนแรงอย่างมากเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นแพทย์จะต้องออกใบรับรองแพทย์ให้ผู้ป่วยที่เคยรับการวินิจฉัยด้วยการบาดเจ็บจากความร้อนพักการฝึกและออกแรงอย่างหนัก อย่างน้อย 7 วัน หลังกลับจากโรงพยาบาลและไม่แนะนำให้ออกกำลังอย่างหนักอีกเลยตลอดห้วงการฝึกทหารใหม่ และหน่วยฝึกต้อรับทราบควาสสำคัญของการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดหลังกลับจากการพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
ประเภทของการบาดเจ็บจากความร้อนจากการออกกำลัง
การบาดเจ็บจากความร้อนจากการออกกำลังนั้นสามารถแสดงอาการได้กว้างมากจากที่มความรุนแรงน้อยมากเช่นผดแดด
จนกระทั่งรุนแรงมากถึงขั้นเสียชีวิตซึ่งได้แก่โรคลมร้อน โดยมีกลุ่มอาการสำคัญ ดังนี้
กลุ่มแรกเป็นกลุ่มโรคที่มีอาการไม่รุนแรงได้แก่
1. ผดหรือโรคผื่นร้อน – มีอาการผื่นคันตามร่างกายจากการอักเสบของต่อมเหงื่อ ไม่ควรให้ยากลุ่ม antihistamine เพราะส่งผลต่อการระบายความร้อนขณะออกกำลัง
2. การบวมจากความร้อน – มีการบวมบริเวณเท้า ขา มือ เริ่มใน 1 – 2 วันแรก เกิดจากภาวะสมดุลเกลือแร่ในร่างกายเปลี่ยนแปลงจากการออกกำลังในความร้อน จะหายเองเมื่อพัก ไม่ควรให้ยาขับปัสสาวะ เพราะส่งผลต่อการระบายความร้อนขณะออกกำลัง
1. ผดหรือโรคผื่นร้อน – มีอาการผื่นคันตามร่างกายจากการอักเสบของต่อมเหงื่อ ไม่ควรให้ยากลุ่ม antihistamine เพราะส่งผลต่อการระบายความร้อนขณะออกกำลัง
2. การบวมจากความร้อน – มีการบวมบริเวณเท้า ขา มือ เริ่มใน 1 – 2 วันแรก เกิดจากภาวะสมดุลเกลือแร่ในร่างกายเปลี่ยนแปลงจากการออกกำลังในความร้อน จะหายเองเมื่อพัก ไม่ควรให้ยาขับปัสสาวะ เพราะส่งผลต่อการระบายความร้อนขณะออกกำลัง
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มโรคมีอาการปานกลาง ได้แก่
1. โรคลมแดด หรือ heat syncope ผู้ป่วยมีอาการหน้ามืดเป็นลม หมดสติไป ระยะสั้นๆ มักเกิดขึ้นตองยืนเข้าแถว ท่ามกลางอากาศที่ร้อน เมื่อนอนราบสักพักหนึ่ง อาการจะดีขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังไม่มีอาการไข้ให่เห็นแต่อย่างใด
2. โรคตะคริวแดด หรือ heat cramp ผู้ป่วยมีอาการปวดเกร็งบริเวณน่อง ต้นขา หน้าท้อง ไหล่ หรือ แขน เกิดจากการเสียเงื่อมากจากการออกกำลังในความร้อน ทำให้ขาดเกลือแร่ในร่างกายไปกับเหงื่อ ปริมาณเกลือที่ลดลงในกล้ามเนื้อจะทำให้เกิดการเกร็งและปวดกล้ามเนื้อที่ออกกำลัง ให้ทำการปฐมพยาบาลโดยการหยุดออกกำลัง เพราะหากฝืนต่อไปอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงเข้าสู่ภาวะ อ่อนล้าจากความร้อน (เพลียแดด, heat exhaustion) ได้ ให้นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ หากอาการเกร็งไม่หายใน 1 ชั่วโมง ให้ส่งโรงพยาบาล
3. โรคเกร็งแดด หรือ Hyperventilation ผู่ป่วยมีอาการ หายใจเร็ว หอบ มือจีบเกร็ง ไม่มีไข้ เกิดจากการหายใจเร็วขึ้นของร่างกายจากการออกกำลังในความร้อน การหายใจที่เร็วขึ้นทำให้ คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดลงเกิดภาวะเลือกเป็นด่างทำให้เกิดการจีบเกร็งของกล้ามเนื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณมือ การรักษาทำได้โดยการหยุดการออกกำลัง นำเข้าที่ร่ม และอาจหาถุงกระดาษที่เจาะเปิดก้นถุงบางส่วน ครอบปากและจมูกให้ผู้ป่วยได้หายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์กลับเข้าไป สักครู่หนึ่งอาการจะดีขึ้นเมื่อภาวะความเป็นด่างในเลือดลดลง
1. โรคลมแดด หรือ heat syncope ผู้ป่วยมีอาการหน้ามืดเป็นลม หมดสติไป ระยะสั้นๆ มักเกิดขึ้นตองยืนเข้าแถว ท่ามกลางอากาศที่ร้อน เมื่อนอนราบสักพักหนึ่ง อาการจะดีขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังไม่มีอาการไข้ให่เห็นแต่อย่างใด
2. โรคตะคริวแดด หรือ heat cramp ผู้ป่วยมีอาการปวดเกร็งบริเวณน่อง ต้นขา หน้าท้อง ไหล่ หรือ แขน เกิดจากการเสียเงื่อมากจากการออกกำลังในความร้อน ทำให้ขาดเกลือแร่ในร่างกายไปกับเหงื่อ ปริมาณเกลือที่ลดลงในกล้ามเนื้อจะทำให้เกิดการเกร็งและปวดกล้ามเนื้อที่ออกกำลัง ให้ทำการปฐมพยาบาลโดยการหยุดออกกำลัง เพราะหากฝืนต่อไปอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงเข้าสู่ภาวะ อ่อนล้าจากความร้อน (เพลียแดด, heat exhaustion) ได้ ให้นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ หากอาการเกร็งไม่หายใน 1 ชั่วโมง ให้ส่งโรงพยาบาล
3. โรคเกร็งแดด หรือ Hyperventilation ผู่ป่วยมีอาการ หายใจเร็ว หอบ มือจีบเกร็ง ไม่มีไข้ เกิดจากการหายใจเร็วขึ้นของร่างกายจากการออกกำลังในความร้อน การหายใจที่เร็วขึ้นทำให้ คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดลงเกิดภาวะเลือกเป็นด่างทำให้เกิดการจีบเกร็งของกล้ามเนื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณมือ การรักษาทำได้โดยการหยุดการออกกำลัง นำเข้าที่ร่ม และอาจหาถุงกระดาษที่เจาะเปิดก้นถุงบางส่วน ครอบปากและจมูกให้ผู้ป่วยได้หายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์กลับเข้าไป สักครู่หนึ่งอาการจะดีขึ้นเมื่อภาวะความเป็นด่างในเลือดลดลง
และกลุ่มสุดท้าย กลุ่มมีมีอาการรุนแรง ได้แก่
โรคอ่อนล้าจากความร้อน หรือ เปลี้ยแดด หรือ เพลียแดด heat exhaustion – มีอาการอ่อนล้า
กระปรกกระเปลี้ย หมด กำลังไม่สามารถออกแรงได้อีกต่อไป วิงเวียน, มึนงง, ปวดศีรษะ, คลื่นไส้, อาเจียน,
ปวดกล้ามเนื้อ แต่ยังรู้สึกตัวตามปกติ อุณหภูมิแกนกายสูงขึ้นเล็กน้อย ยังไม่ถึง 40 องศา เซลเซียส
มักสังเกตผู้ป่วยในกลุ่มอาการนี้ได้จาการที่เกิดอาการ หมดแรง ไม่ไหว ไม่สามารถทำตามกลุ่ม เพื่อนที่ออกกำลังไปพร้อมกันได้
การบาดเจ็บจากความร้อนในระดับนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการให้การวินิจฉัยที่ทันท่วงที
เพื่อให้หยุดการออกกำลังและทำการรักษาให้ทันท่วงทีก่อนที่จะมีอาการรุนแรงถึงระดับ โรคลมร้อน หรือ heat stroke
ที่มีอัตรายถึงชีวิตได้
ผู้ที่มีอาการดังกล่าว หรือเพียงแค่สงสัยว่ามีอาการดังกล่าว ต้องได้รับการปฐมพยาบาลโดยเร็ว
เริ่มจากการหยุดการออกกำลังทันที นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม ถอกเสื้อผ้าออกจนเหลือแต่กางเกงชั้นใน และทำการลดความร้อน
โดยการเช็ดตัวด้วยน้ำอุณหภมิธรรมดา และพัดเป่า หรือใช้ผ้าผืนใหญ่ที่แช่น้ำเย็นจัดห่อหุ้มร่างกายเหลือไว้บริเวณจมูกและปาก
แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการวัดอุณหภูมิแกนกายทางทวารหนักเพื่อวินิจฉัยแยกโรคจากโรคลมร้อน
และโรคสุดท้ายทีรุนแรงที่สุดในการบาดเจ็บจากความร้อนได้แก่โรคลมร้อน หรือ heat stroke
โดยพบว่า ผู้ป่วยจะมีอุณหภูมิแกนกายสูงกว่า 40◦C และมีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลางเช่น การพูดจาสับสน ชัก
หรือถึงขั้นหมดสติ ซึ่งส่วนใหญ่มักพบในช่วงที่กำลังออกกำลังอย่างหนัก
แต่มีผู่ป่วยส่วนหนึ่งแสดงอาการแม้ในช่วงพักเช่นในตอนกลางคืนหลังการฝึกได้
การให้การดูแลรักษาเบื้องต้น เหมือนกับกลุ่มโรคอ่อนล้าจากความร้อน กล่าวคือ
หยุดการออกกำลังทันที นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม ถอกเสื้อผ้าออกจนเหลือแต่กางเกงชั้นใน และทำการลดความร้อน
โดยการเช็ดตัวด้วยน้ำอุณหภมิธรรมดา และพัดเป่า หรือใช้ผ้าผืนใหญ่ที่แช่น้ำเย็นจัดห่อหุ้มร่างกายเหลือไว้บริเวณจมูกและปาก
แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการวัดอุณหภูมิแกนกายทางทวารหนักเพื่อวินิจฉัยโรคลมร้อน
นอกจากกลุ่มการบาดเจ็บจากความร้อนทั้งหมดดังกล่าวแล้วยังมีอาการที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเกิด
กล้ามนื้อสลายตัวจากการออกกำลัง exertional rhabdomyolysis
ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของกล้ามเนื้อจากการออกกำลังอย่างหนักและหากมีความร้อนของร่างกายที่สูงขึ้นมากจะทำให้มีอาการมากขึ้น
โดยกล้ามเนื้อที่สลายตัวจะทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของสารที่มาจากการสลายตัวของกล้ามเนื้อ เช่นเอ็นไซม์จากกล้ามเนื้อและไมโอโกลบิน
เกิดระดับ CPK ในซีรั่มที่สูงขึ้น ทำให้เกิดอาการไตวายเฉียบพลันได้
โดยอาการนี้เกิดร่วมได้กับทุกระดับของการเจ็บป่วยจากความร้อนแต่จะเกิดมากในผู้ป่วยในกลุ่มอาการรุนแรงได้แก่
การอ่อนเปลี้ยจากความร้อน และโรคลมร้อน
การป้องกันการบาดเจ็บจากความร้อน
กองทัพบกโดยกรมแพทย์ทหารบกได้พัฒนาองค์ความรู้เรื่องการป้องกันการบาดเจ็บจากความร้อนอย่างเต็มที่และต่อเนื่อง
โดยมีการบูรณาการแผนการป้องกันเข้ากับระบบการฝึกทหารใหม่อย่างเป็นระบบ โดยสามารถจำแนกเป็นประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1 การจำแนกกลุ่มเสี่ยง ติดสัญลักษณ์ และปรับการฝึกตามกลุ่มเสี่ยง
ทหารใหม่ที่เข้ารับการฝึกจะมีความเสี่ยงส่วนบุคคลต่อการเกิดการบาดเจ็บจากความร้อนเมื่อได้รับการฝึกไม่เท่ากัน จึงต้องมีการจำแนกผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการบาดจ็บจากความร้อน ให้ได้รับการฝึกที่เบาลงกว่าทหารใหม่ที่ไม่มีความเสี่ยง
ความเสี่ยงส่วนบุคคลที่สำคัญ ที่ต้องคัดกรองทหารออกมาจากการฝึกปกติได้แก่
1. ดัชนีมวลกาย มากกว่า 28 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
2. ความเจ็บป่วยต่างๆ เช่นได้รับบาดเจ็บกล้ามเนื้อฟกช้ำอย่างมากรักษายังไม่หาย เป็นไข้หวัด ท้องเสีย เป็นโรคหอบหืด มีโรคผิวหนังอักเสบหรือผิวหนังผิดปกติที่ทำให้การขับเหงื่อทำได้ไม่เต็มที่
3. การรับประทานยาบางชนิดเช่น ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ ยาแก้วิงเวียน
4. ดื่มเหล้าอย่างหนักใน 24 ชม.ที่ผ่านมา
5. ยังใช้สารเสพย์ติดอย่างต่อเนื่อง โดยตรวจพบปัสสาวะม่วงจากการตรวจปัสสาวะคัดกรองสารเสพย์ติด
ทหารใหม่กลุ่มนี้ต้องได้รับการติดสัญลักษณ์ ให้เป็นที่สังเกตเห็นได้ชัดและค่อยๆ ปรับความเข้มข้นของการฝึกให้ค่อยๆ เพิ่มขึ้น โดยการฝึกที่เสี่ยงมากต่อการเกิดความร้อนได้แก่ การออกกำลังกายและวิ่งในข่วงเย็น และการปรับปรุงวินัยทหารที่ต้องมีการออกแรงอย่างหนัก
1. ดัชนีมวลกาย มากกว่า 28 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
2. ความเจ็บป่วยต่างๆ เช่นได้รับบาดเจ็บกล้ามเนื้อฟกช้ำอย่างมากรักษายังไม่หาย เป็นไข้หวัด ท้องเสีย เป็นโรคหอบหืด มีโรคผิวหนังอักเสบหรือผิวหนังผิดปกติที่ทำให้การขับเหงื่อทำได้ไม่เต็มที่
3. การรับประทานยาบางชนิดเช่น ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ ยาแก้วิงเวียน
4. ดื่มเหล้าอย่างหนักใน 24 ชม.ที่ผ่านมา
5. ยังใช้สารเสพย์ติดอย่างต่อเนื่อง โดยตรวจพบปัสสาวะม่วงจากการตรวจปัสสาวะคัดกรองสารเสพย์ติด
ทหารใหม่กลุ่มนี้ต้องได้รับการติดสัญลักษณ์ ให้เป็นที่สังเกตเห็นได้ชัดและค่อยๆ ปรับความเข้มข้นของการฝึกให้ค่อยๆ เพิ่มขึ้น โดยการฝึกที่เสี่ยงมากต่อการเกิดความร้อนได้แก่ การออกกำลังกายและวิ่งในข่วงเย็น และการปรับปรุงวินัยทหารที่ต้องมีการออกแรงอย่างหนัก
2. ให้ทหารได้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ สามารถเข้าถึงน้ำดื่มได้โดยไม่จำกัด โดยการฝึกท่ามกลางความร้อนจะมีคำแนะนำการดื่มน้ำตามสัญญาณธงสีต่างๆ โดยจะเป็น 500 cc. ใน 1 ชั่วโมงเมื่อสัญญาณธงเป็นสีขาว เขียว เหลือง และ 1 ลิตร ใน 1 ชั่วโมงเมื่อสัญญาณธงเป็นสีแดงหรือดำ แนะนำให้ทหารพกพากระติกน้ำ เพราะจะทำให้ดื่มน้ำได้แม้ไม่ใช่ช่วงการพัก การสังเกตว่าทหารได้รับน้ำเพียงพอหรือไม่ควรฝึกให้ทหารสังเกตสีปัสสาวะโดยต้องดื่มน้ำจนกระทั่งสีปัสสาวะเป็นสีเหลือง ไม่เข้มมาก หรืออาจสังเกตจากน้ำหนักตัวที่ลดลงหากมีการชั่งน้ำหนักรายวัน โดยน้ำหนักที่ลดลงมักเกิดจากน้ำที่ขาดไปโดยน้ำขาดไป 1 ลิตร น้ำหนักตัวจะลดลง 1 กิโลกรัม
ห้ามนำการอดน้ำ มาเป็นส่วนหนึ่งของการทดสอบกำลังในของทหารโดยเด็ดขาด
และต้องระวังการดื่มน้ำมากเกินจนเป็นพิษซึ่งอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ โดยห้ามดื่มเกินวันละ 9 ลิตร
3. การปรับการออกกำลังของทหารให้เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ในช่วงสองสัปดาห์แรก
โดยเน้นไปที่การออกกำลังที่มีการใช้แรงอย่างมากเช่นการออกกำลังและวิ่งตอนเย็นของทุกวัน
และความเข้มข้นของการฝึกต้องพิจารณาถึงความร้อนของอาการและความชื้นสัมพัทธ์โดยพิจารณาจากสัญญาณธง
4. การติดตามอาการรายวัน ในทุกๆวัน โดยเฉพาะช่วงก่อนและหลังการออกกำลังอย่างหนัก
โดยก่อนการออกกำลังอย่างหนัก ทหารใหม่ต้องได้รับการซักถาม การมีความเสี่ยงส่วนบุคคล
และอาการต่างๆของการบาดเจ็บจากความร้อน ถ้ามีความเสี่ยงสูงควรพิจารณาหลีกเลี่ยงการออกกำลังอย่างหนักในทหารนายนั้นไปก่อน
เช่น น้ำหนักเกิด อ้วน เป็นไข้ ท้องเสีย ร่างกายฟกช้ำ อ่อนเพลียอย่างมาก เป็นต้น และหลังจากการออกกำลังอย่างหนัก
ควรมีการประเมินอาการบาดเจ็บจากความร้อนในระดับต่างๆ โดยต้องมีการประเมินทุกวัน
5. เตรียมพร้อมในการปฐมพยาบาลเมื่อพบผู้ป่วยบาดเจ็บจากความร้อนที่มีอาการรุนแรง
เมื่อมีทหารล้มลง หรือแสดงอาการว่าไม่ไหว ให้ทำการปฐมพยาบาลเหมือนว่าเป็นผู้ป่วยลมร้อนโดยทันที
โดยการน้ำเข้าที่ร่ม ถอดเส้อผ้า และระบายความร้อนอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยใช้ผ้าผืนใหญ่ที่เย็นจัดห่อตัว
หรือแช่ลงในอ่างน้ำแข็ง หรือการเช็ดตัวด้วยน้ำและเป่าระบายอากาศ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อประเมินอุณหภูมิแกนกายจากการวัดทางทวารหนัก
โดยเร็ว